เพิ่มไม่หยุด! 3.4ล้านคนเป็นหนี้เสียโควิด มีปัญหาค้างจ่าย 3.7 แสนล้านบาท

นายสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) เปิดเผยว่า หนี้เสีย หรือเอ็นพีแอล ที่เกิดจากผลกระทบโควิด เรียกว่ารหัส 21 ในไตรมาส 2 ปี 66 (สิ้นเดือน มิ.ย. 66) อยู่ที่ 3.7 แสนล้านบาท คิดเป็น 3.4 ล้านคน หรือเพิ่มขึ้น 6 หมื่นล้านบาท และเพิ่ม 3 แสนคน เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกปี 66 ที่มี 3.1 แสนล้านบาท คิดเป็น 3.1 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่มาจากหนี้เสียรหัส 21 ของธนาคารของรัฐ ที่เพิ่ม 3.6 หมื่นล้านบาท ในไตรมาส 2 นี้ โดยข้อมูลหนี้เสียทั้งหมดในไตรมาส 2 มีอยู่กว่า 1.03 ล้านล้านบาทคำพูดจาก ทดลองเล่น

ทั้งนี้การเพิ่มขึ้นของหนี้เสียรหัส 21 นั้น เพิ่มทั้งของจำนวนเงินและจำนวนรายทั้งๆที่มีการเร่งปรับโครงสร้าง​หนี้​ตามมาตรการแบบมุ่งเป้าอย่างเต็มกำลังของธนาคาร ทำให้​เห็น​ถึงความอ่อนแรงของความสามารถ​ในการชำระหนี้​ของลูกหนี้กลุ่มนี้ที่ชัดเจน​และยังเกิดจากค่าครองชีพสูง รวมทั้งเศรษฐกิจฟื้นตัวไม่ทั่วถึง คำถามคือในระยะเวลาที่เหลือก่อนมาตรการปรับโครงสร้าง​หนี้​ระยะยาว หรือมาตรการฟ้าส้ม​สิ้นสุดไปในปลายปี​นี้ จะส่งผลให้เกิดความอืด ความหนืดในการเร่งจัดการหนี้เสียเป็นหนี้ดีตามที่มุ่งหวังหรือไม่​

สำหรับหนี้ครัวเรือนไทยที่จัดเก็บในระบบเครดิตบูโร มีทั้งสิ้น 13.45 ล้านล้านบาท ครอบคลุม​ลูกหนี้ 32 ล้านคน​ ที่เป็นหนี้กับสถาบันการเงิน​ไทยกว่า​ 135 แห่ง​ และหนี้เสียกลับเพิ่มขึ้นเกิน 1 ล้านล้านบาทอีกครั้ง มาอยู่ที่ 1.03 ล้านล้านบาท คิดเป็น 7.7% เมื่อเทียบไตรมาส​ 1 ปี​ 66​ อยู่ที่​ 9.5 แสนล้านบาท และยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อด้วยสถานการณ์​ทางเศรษฐกิจ​แบบยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่และทั่วถึง ส่วนหนี้ที่ปรับโครงสร้างมีอยู่ 9.8 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสแรกที่มี 8 แสนล้านบาท

ขณะที่ข้อมูลของหนี้เสียเอ็นพีแอล 1.03 ล้านล้านบาท ประกอบด้วย​ หนี้กู้ซื้อรถยนต์​เกือบ​ 2 แสนล้านบาท​, หนี้กู้ซื้อบ้าน​ที่อยู่​อาศัย​ 1.8 แสนล้านบาท, หนี้ส่วนบุคคล 2.5 แสนล้านบาท​, บัตรเครดิต​ 5.6 หมื่นล้านบาท​, หนี้เกษตร​ 7.2 หมื่นล้านบาท​ เป็นต้น​ ที่น่าสังเกตคือหนี้กู้มาซื้อรถยนต์​นั้นเพิ่มขึ้นจากกลางปีที่แล้ว​ มิ.ย. 65 มาสูงถึง 18% ยอมรับว่ามีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น และหนี้ที่กำลังเฝ้าระวังเป็นหนี้เสีย หรือเอสเอ็ม แม้จะลดจาก 4.75 แสนล้านบาท ในไตรมาสแรกมาอยู่ที่ 6 แสนล้านบาท ในไตรมาส 2 แต่หนี้กู้มาซื้อรถยนต์ 2 แสนล้านบาท ก็ยังคงน่าเป็นห่วง

นอกจากนี้หนี้กู้ซื้อบ้านที่เป็นเอสเอ็มใหล้เสียมี​ 1.3 แสนล้านบาท ในจำนวนนี้​ 9 หมื่นล้านบาท เป็นลูกหนี้ของสถาบันการเงินของรัฐ​ ซึ่งสะท้อนไปที่บ้านราคาไม่แพง​ กลุ่มรายได้ปานกลาง, รายได้น้อย​ และยังมีหนี้เอสเอ็มของหนี้ส่วนบุคคลอีก​ 8.6 หมื่นล้านบาท​ โดยอัตราส่วนที่กลุ่มนี้จะไหลเป็นเอ็นพีแอลนั้นแบ่งเป็นสินเชื่อบ้านอยู่ที่​ 22%, สินเชื่อรถยนต์​ 12%, สินเชื่อส่วนบุคคล​ 54% และบัตรเครดิต​ 57% สะท้อนว่ายังไม่เป็นขนาดถล่มทลาย​ แบบตกหน้าผาหนี้เสียคำพูดจาก เว็บสล็อตทดลองเล่น

อย่างไรก็ตาม การค้างชำระในส่วนของหนี้ที่มีหลักประกัน​ เช่น รถยนต์, บ้านที่อยู่​อาศัย​นั้น​ เป็นอะไรที่ไม่น่าจะสบายใจ เพราะยังมีเรื่องของค่าครองชีพ, ค่าไฟฟ้า​ ค่าน้ำมัน​เชื้อเพลิง​อีกส่วนหนึ่งที่ค่อยๆเพิ่มขึ้น​มีแรงกดดันค่าใช้จ่ายส่วนนี้ด้วย ถ้าลูกหนี้ที่เลี้ยงงวดการจ่ายหนี้เดือนชนเดือน เริ่มมีปัญหา ควรรีบเข้าไปขอคำปรึกษา​ กับทางด่วนแก้หนี้​ คลินิกแก้หนี้​ หรือโทร.​ 1213​ เพื่อขอความช่วยเหลือได้ในตอนนี้