รู้จัก "กฎหมายตราสามดวง" กฎสมัยร.1 ที่ระบุโครงสร้างสังคม จนถึงการทำร้ายภรรยา!

จากกรณีที่มีการพูดถึง “การตีเมียไม่ผิดกฎหมาย” ในสมัยอยุธยา จากละครพรหมลิขิต ภาคต่อของละครบุพเพสันนิวาส ทำให้หลายคนให้ความสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยเฉพาะเนื้อหาดังกล่าวที่ปรากฏอยู่ใน “กฎหมายตราสามดวง” ว่ากฎหมายเกี่ยวกับการทำร้ายหรือลงโทษผู้เป็นภรรยาในสมัยนั้นมีเนื้อหาอย่างไรบ้าง

โดยกฎหมายตราสามดวง เป็นประมวลกฎหมายที่จัดทำขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช หรือรัชกาลที่ 1 มีเนื้อหาส่วนใหญ่ที่รวบรวมมาจากกฎหมายในสมัยอยุธยา

"พระเจ้าท้ายสระ" ผู้เวนคืนราชสมบัติ ต้นเหตุสงครามชิงบัลลังก์อโยธยา

พระราชประวัติ "พระเจ้าเสือ" ราชาผู้น่าเกรงขาม ปกครองอยุธยากว่า 5 ปี

"เจ้าฟ้าพร" หรือ "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ" กษัตริย์ยุคชิงราชสมบัติ ผู้ฟื้นฟูพุทธศาสนา

ซึ่งถือว่าเป็นกฎหมายฉบับแรกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และยังเป็นกฎหมายที่สะท้อนความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ ทั้งด้านการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของชาติไทยได้เป็นอย่างดี โดยได้รับอิทธิพลจาก“คัมภีร์พระธรรมศาสตร์” อันเป็นคัมภีร์ที่มีความศักดิ์สิทธิ์ และมีพื้นฐานของวัฒนธรรมอินเดียโดยผ่านมาทางมอญ เชื่อว่าพระผู้เป็นเจ้าประทานมาให้เป็นหลัก ในการอำนวยความยุติธรรมของพระมหากษัตริย์ จากนั้นจึงแพร่หลายมายังดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เมื่อเรียบเรียงประมวลกฎหมายเรียบร้อย รัชกาลที่ 1 ทรงประทับตราพระราชสีห์ ประขำตำแหน่งสมุหนายก ตราพระคชสีห์ ประจำตำแหน่งสมุหพระกลาโหม และตราบัวแก้วประจำตำแหน่งกรมท่าโกษาธิบดี อันหมายถึงให้เป็นที่รับรู้และใช้งานโดยทั่วกัน

โดยสาระสำคัญในภาพรวมของกฎหมายตราสามดวง ปรากฏให้เห็นถึงโครงสร้างของสังคมไทย ในสมัยกรุงศรีอยุธยา และกรุงรัตนโกสินทร์ ที่เป็นสังคมยึดถือศักดินาเป็นหลัก กล่าวได้ว่าศักดินาเป็นเครื่องกำหนดสิทธิ หน้าที่ความรับผิดชอบและฐานะของคนทุกกลุ่มในสังคม ระบบศักดินาจึงเป็นพื้นฐานสำคัญของการจัดระบบสังคม แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มอย่างกว้าง ๆ คือ ชนชั้นผู้ปกครอง และชนชั้นผู้ถูกปกครอง

โดย ชนชั้นผู้ปกครองพระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจสูงสุดในการปกครอง ผู้ใดจะล่วงละเมิดมิได้ แม้พระมหากษัตริย์จะทรงมีพระราชอำนาจเป็นเจ้าชีวิตของคนทั้งปวง แต่พระมหากษัตริย์ไทยก็ทรงปกครองบ้านเมืองโดยยึดหลักทศพิธราชธรรมมาแต่โบราณ

และ ชนชั้นผู้ถูกปกครองชนชั้นผู้ถูกปกครองในกฎหมายตราสามดวง ได้แก่ ไพร่และทาส ซึ่งไพร่เป็นชนส่วนใหญ่ของสังคม เป็นสามัญชนทั่วไป กฎหมายบังคับให้ไพร่ต้องอยู่ใต้สังกัดมูลนาย มีสถานะเป็นสมบัติของมูลนายและอยู่ในหมวดทรัพย์สินของมูลนายเช่นเดียวกับทาส ผู้ใดลักพาไพร่ของมูลนายไป ถือเป็นความผิดต้องรับโทษ ซึ่งไพร่มี 2 ประเภท ได้แก่ ไพร่หลวง และไพร่สม

นอกจากนี้ กฎหมายตราสามดวงยังได้สะท้อนให้เห็นถึงการจัดกระบวนการยุติธรรมในสมัยโบราณ ได้แก่ พระธรรมนูญ พระอัยการลักษณะรับฟ้อง พระอัยการลักษณะตุลาการ พระอัยการลักษณะพยาน พระอัยการลักษณะอุทธรณ์ เป็นต้น จะเห็นว่าศาลในอดีต กระจายอยู่ตามหน่วยราชการต่าง ๆ ไม่เป็นระบบเดียวกัน ไม่มีการแยกเป็นคดีแพ่ง คดีอาญา และคดีปกครอง ดังเช่นปัจจุบัน

นอกจากนี้ ยังมีเนื้อหาที่น่าสนใจอย่าง “พระอัยการลักษณะผัวเมีย” ที่ว่าด้วยเรื่องเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของบุคคลในครอบครัว ได้แก่ สามี ภริยา บุตร บิดามารดา ทั้งในทางแพ่งและทางอาญา เช่น การสมรส การเป็นชู้ (ใช้เฉพาะหญิงผู้เป็นภรรยามีชู้) การข่มขืนกระทำชำเราหญิงและเด็กหญิง ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา การชดใช้ค่าเสียหาย และการลงโทษในกรณีละเมิดข้อห้ามต่างๆ ทางกฎหมาย เป็นต้น

ซึ่งเนื้อหาที่เพิ่มเติมเข้ามา จะเป็นเรื่องของวิธีการลงโทษภรรยาหากมีชู้ จากกรณีของ “อำแดงป้อม” ภรรยาที่นอกใจมีชู้กับนายราชาอรรถ และฟ้องหย่านายบุญศรีผู้เป็นสามี แต่นายบุญศรีไม่ยอม ซึ่งศาลได้ตัดสินให้อำแดงป้อมสามารถฟ้องหย่าได้ นายบุญศรีจึงถวายฎีการ้องทุกข์ เมื่อรัชกาลที่ 1 ทรงทราบ ก็วินิจฉัยว่า

หญิงนอกใจชายแล้วมาฟ้องหย่า ลูกขุนปฤกษาให้หย่ากันนั้น หาเปนยุติธรรมไม่

และกล่าวต่อว่ากฎหมายนี้ฟั่นเฟือนวิปริต จึงมีการแก้ไขกฎหมายตราสามดวงขึ้นมาใหม่ พร้อมกำหนดบทลงโทษหญิง-ชายชู้ขึ้น

ส่วนการลงโทษและทำร้ายร่างกายผู้เป็นภรรยานั้น ได้มีบทบัญญัติไว้ตั้งแต่สมัยอยุธยา เกี่ยวกับขอบเขตอำนาจการปกครองในครอบครัวของสามี และมีการใช้ต่อมาในประมวลกฎหมายตราสามดวง ซึ่งมีเนื้อหาระบุในพระอัยการลักษณะผัวเมียมาตรา 60 ว่า

สามีภรรยาอยู่ด้วยกัน ภริยามีความผิด สามีจะปราบปรามโบยตีหญิง หญิงจะเอาโทษแก่สามีนั้นมิได้ ถ้าภริยาด่าว่า หยาบช้าแก่สามี ให้ภริยาเอาข้าวตอกดอกไม้ขอโทษแก่สามีจึงควร

จะเห็นได้ว่า แม้สามีจะสามารถลงโทษภรรยาได้ แต่สามีจะทำโทษฝ่ายหญิงโดยปราศจากเหตุอันควร หรือทำร้ายภรรยาจนมีอาการบาดเจ็บไม่ได้ ซึ่งจะถือว่าผู้นั้นกระทำเกินขอบเขตอำนาจปกครอง อาจถูกจับไล่ไสส่งได้

สรุปได้ว่า ตั้งแต่สมัยอยุธยา มาจนถึง “ประมวลกฎหมายตราสามดวง” ในสมัยรัชกาลที่ 1 เนื้อหาการทำโทษผู้เป็นภรรยาโดยสามีใน “พระอัยการลักษณะผัวเมีย” แม้สามีจะสามารถลงโทษภรรยาได้ตามสมควร แต่หากลงโทษจนบาดเจ็บหรือลงโทษเกินสมควรหรือไม่มีเหตุให้ลงโทษ ก็ถือว่าผิดกฎหมาย และต่อมาในกฎหมายตราสามดวงมีการเพิ่มบทลงโทษเกี่ยวกับ “ภรรยาที่มีชู้” ขึ้นมานั่นเอง

เรียบเรียงจาก พิพิธภัณฑ์รัฐสภา/ วัชรญาณ / มหาวิทยาลัยรามคำแหง/ สารานุกรมไทยคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

ภาพจากพิพิธภัณฑ์รัฐสภา/สารานุกรมไทย

ผลประกบคู่คาราบาว คัพ รอบ 8 ทีม ลิเวอร์พูล ดวล เวสต์แฮม

ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ วิเคราะห์แชมป์พรีเมียร์ลีกหลังผ่าน 10 เกม ทีมไหนได้ลุ้น

ตอกย้ำกระแสความแรง “สัปเหร่อ” เตรียมโกอินเตอร์ จ่อเข้าฉาย 9 ประเทศ